วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีความเสมอภาคหรือทฤษฎีความเท่าเทียมกันของ Adams
Adam’s Equity  Theory
ทฤษฎีนี้ กล่าวว่า บุคคลจะมีการเปรียบเทียบอัตราส่วนระหว่างปัจจัยนำเข้าของตนเอง ( เช่น ความพยายาม ประสบการณ์ การศึกษา และความสามารถ) และผลลัพธ์ของตนเอง (เช่น ระดับเงินเดือน การเลื่อนตำแหน่ง การยกย่อง และปัจจัยอื่นกับบุคคลอื่น) J. Stacy Adams  กล่าวว่า บุคคลจะประเมินผลลัพธ์ที่เขาได้รับจากการทำงานของตนกับบุคคลอื่น  ความรู้สึกถึงความไม่เสมอภาคจะเกิดขึ้น  เมื่อบุคคลรู้สึกว่ารางวัลที่เขาได้รับจากการทำงานมีความไม่เหมาะสมโดยเปรียบเทียบกับรางวัลที่บุคคลอื่นได้รับจากการทำงาน  ซึ่งจะก่อให้เกิดผลในเชิงลบ  โดยอาจทำให้บุคคลทุ่มเทให้กับการทำงานน้อยลงหรือตัดสินใจลาออกก็ได้  การประยุกต์ใช้ทฤษฎีนี้เสนอแนะว่าบุคคลควรได้รับรู้ถึงรางวัล (ผลลัพธ์จากการทำงาน)  ที่เหมาะสมและเท่าเทียมกัน  ลักษณะสำคัญของทฤษฎีความเสมอภาคภาคแสดง ดังสมการ   
 ผลลัพธ์ (Output) ของบุคคลหนึ่ง   =  ผลลัพธ์ (Output) ของอีกบุคคลหนึ่ง                                      
ปัจจัยนำเข้า (Input)  ของบุคคลหนึ่ง       ปัจจัยนำเข้า (Input) ของอีกบุคคลหนึ่ง

ความรู้สึกถึงความไม่เสมอภาคเชิงลบ (Felt negative inequity) เกิดขึ้นเมื่อบุคคลรู้สึกว่าเขาได้รับความยุติธรรมน้อยกว่าบุคคลอื่น
ความรู้สึกถึงความไม่เสมอภาคเชิงบวก (Felt positive inequity) เกิดขึ้นเมื่อบุคคลรู้สึกว่าเขาได้รับความยุติธรรมมากกว่าบุคคลอื่น
ความไม่เสมอภาคจะเป็นตัวกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมเพื่อที่จะสร้างความเท่าเทียมกันซึ่งบุคคลอาจจะแสดงพฤติกรรมออกมาในรูปแบบต่างๆดังนี้                                                                                                                   
1.  เปลี่ยนแรงพยายามที่ใส่ลงไปเช่นลดความพยายามในการทำงาน,มาสาย,ขาดงาน                                                 
2. ปรับหรือเปลี่ยนรางวัลที่เขาได้รับเช่นขอขึ้นเงินเดือนหรือขอเลื่อนตำแหน่ง                                                   
3. ล้มเลิกการเปรียบเทียบ โดยลาออกจากงาน
4. เปลี่ยนจุดเปรียบเทียบโดยเปรียบเทียบตัวเองกับผู้ร่วมงานคนอื่น
ขั้นตอนในการบริหารกระบวนการความเสมอภาค (Steps for managing the equity process)  มีดังนี้
(1) ยอมรับว่าการเปรียบเทียบความเสมอภาค (Equity comparisons) เป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ในที่ทำงาน
(2) คาดว่าความรู้สึกถึงความไม่เสมอภาคเชิงลบ (Felt negative inequities) จะเกิดขึ้นเมื่อมีการให้รางวัล
(3) สื่อสารถึงการประเมินที่ชัดเจนของการให้รางวัล
(4) สื่อสารถึงการประเมินผลการทำงานซึ่งมีเกณฑ์การให้รางวัล
(5) สื่อสารถึงความเหมาะสมของประเด็นที่เปรียบเทียบในสถานการณ์นั้น
การเปรียบเทียบความเสมอภาคกับการจัดสรรรางวัลมีผลกระทบต่อผู้ถูกจูงใจ  ผู้บริหารจะต้องหาวิธีการให้ผู้ถูกจูงใจเกิดการรับรู้ว่ารางวัลนั้นพิจารณาจากผลลัพธ์ที่แท้จริง  โดยผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพมีแนวความคิดการจัดการกับการเปรียบเทียบความเสมอภาค 5 ประการดังกล่าวข้างต้นและจากการวิจัยพบว่า
1. ถ้าบุคคลรู้สึกว่าเขาได้รับรางวัลที่ไม่เท่าเทียมกัน  เขาจะไม่พอใจ และจะลดปริมาณหรือคุณภาพของผลผลิต
2. ถ้าบุคคลได้รับรางวัลที่เท่าเทียมกัน  เขาจะทำงานเพื่อให้ได้ผลผลิตในระดับเดิมต่อไป
3.  ถ้าบุคคลคิดว่ารางวัลสูงกว่าสิ่งที่ไม่เสมอภาค  เขาจะทำงานมากขึ้น  ดังนั้นจึงอาจจะลดรางวัลลง 
                ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ บุคคลจะคาดคะเนผลประโยชน์ของตนหรือคาดหวังรางวัลที่ได้รับเกินจริง  ทำให้พนักงานอาจรู้สึกถึงความไม่เสมอภาคในบางครั้ง  อย่างไรก็ตามความรู้สึกถึงความไม่เสมอภาคนี้จะมีผลต่อปฏิกิริยาบางประการ  ตัวอย่างเช่น พนักงานอาจจะโกรธหรือตัดสินใจทิ้งงาน  เพราะเกิดความรู้สึกว่ารางวัลที่ได้รับไม่ยุติธรรม  เมื่อเปรียบเทียบกับรางวัลของบุคคลอื่น
ทฤษฎีความเสมอภาค (Equity Theory)
J. Stacy Adams กล่าวว่า ปกติคนเราจะแสวงหาความยุติธรรมในการทำงานโดยการเปรียบเทียบผลงานที่เรา   อุทิศให้กับองค์การกับสิ่งที่ได้รับตอบแทนจากองค์กร ถ้าเราคิดว่าเรายังรับน้อยกว่าคนอื่นเราก็จะรู้สึกตึงเครียด เกิดความรู้สึกลำเอียง และส่งผลต่อแรงจูงใจที่จะกระทำ แต่ถ้าเรารับรู้ว่าสิ่งที่เราได้รับเป็นสัดส่วนที่เท่ากับรางวัลและเท่ากับคนอื่น ๆ เราก็จะอยู่ในระดับที่เสมอภาคเป็นธรรม ประกอบด้วยหลัก 4 ส่วน ได้แก่
1) คนเราเห็นตัวเองโดยการเปรียบเทียบคนอื่น คนใดที่ทำการสังเกตจะเรียกว่า ตัวเอง (Person)
2) คนเราเปรียบเทียบตัวเองกับอีกคนหนึ่ง  คน ๆ นั้นเรียกว่า คนอื่น (Other)
3) ทรัพย์สินทุกอย่างที่คนนำมาใช้ในงาน หมายถึง ต้นทุน (Input)   ได้แก่ ความรู้ส่วนบุคคล สติปัญญา
ประสบการณ์ ทักษะ ความอาวุโส ระดับความพยายาม และสุขภาพ เป็นต้น
4)ประโยชน์ที่คนได้จากการทำงานเปรียบเป็นผลลัพธ์ (Outcome) ได้แก่ เงินเดือน ผลประโยชน์ สภาพการทำงาน สถานภาพ และข้อได้เปรียบโดยอาวุโส เป็นต้น
Adams ได้เสนอความไม่เท่าเทียมไว้ 2 ประเภท 
1. ไม่เท่าเทียมด้วยค่าตอบแทนที่น้อยกว่า (Underpayment inequity) คือ เมื่อตัวเองรู้ว่าได้ผลลัพธ์จากงานต่ำกว่าคนอื่น เมื่อเปรียบเทียบจากข้อมูลที่ให้ไป ตัวอย่างความไม่เท่าเทียมด้วยค่าตอบแทนที่น้อยกว่า คือ ตัวเอง 50:50     คนอื่น 50:75
2. ไม่เท่าเทียมด้วยค่าตอบแทนที่สูงกว่า (Overpayment inequity) คือ เมื่อตัวเองรู้ว่าได้ผลลัพธ์ที่สูงกว่าคนอื่น เมื่อเปรียบเทียบจากต้นทุนที่ให้ไป ตัวอย่างความไม่เท่าเทียมด้วยค่าตอบแทนที่สูงกว่า คือ ตัวเอง 50:75   คนอื่น 50:50
Adams เชื่อว่า คนสามารถเปลี่ยนระดับแรงจูงใจเพื่อดึงความรู้สึกไม่เท่าเทียมให้กลับคืนมา วิธีการลดความไม่เท่าเทียมคือรูปแบบในการให้ค่าตอบแทน เช่น จ่ายตามชั่วโมงทำงานหรือจ่ายตามจำนวนชิ้นงาน สมมติฐาน 4 แบบ ในการพิจารณาว่าคนเราจะสามารถลดความรู้สึกไม่เสมอภาคได้หรือไม่ ได้แก่
· ค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นต่อชั่วโมง (Overpayment-hourly) โดยทำงานหนักขึ้นหรือพยายามมากขึ้น โดยการเพิ่มต้น
ทุนของพวกเขา เช่น พยายามมากขึ้น พวกเขาจะลดความรู้สึกไม่เท่าเทียมลงได้ ความพยายามที่เพิ่มขึ้นจะเห็นได้
จากจำนวนหรือคุณภาพของงานที่ออกมา
· ค่าตอบแทนที่เพิ่มขึ้นต่อชิ้นงาน (Overpayment-piece rate) กลุ่มเป้าหมายจะทำงานมากขึ้น ซึ่งหมายถึงการ
เพิ่มผลลัพธ์ อย่างไรก็ตาม ถ้าพวกเขาพยายามมากขึ้นเพื่อผลลัพธ์ที่มากกว่า ความรู้สึกไม่เสมอภาคก็จะมากขึ้น  
ดังนั้น กลุ่มเป้าหมายของสถานการณ์นี้จะผลิตน้อยลงแต่มีคุณภาพมากขึ้นกว่าเดิม
· ค่าตอบแทนที่น้อยลงต่อชั่วโมง (Underpayment-hourly) กลุ่มเป้าหมายจะลดความพยายามให้เหมาะกับ
ผลลัพธ์ที่น้อยลง ผลที่ได้คือคุณภาพและจำนวนของงานที่ลดลง
· ค่าตอบแทนที่น้อยลงต่อชิ้นงาน (Underpayment-piece rate) จากการตอบแทนที่น้อยลง กลุ่มเป้าหมายจะผลิต
มากขึ้นแต่คุณภาพด้อยลง
การที่เราจะพยายามมากขึ้นหรือน้อยลงเพื่อลดความไม่เสมอภาค เรียกว่า การกระทำ (Behavioral) แบ่งเป็น 3 วิธี ดังนี้
1) ปรับระดับความพยายามหรือการเปลี่ยนต้นทุนของคน เป็นเหมือนทฤษฎีการคาดเดา
2) ปรับเปลี่ยนต้นทุนของตน เช่น เรียกร้องเพื่อขอค่าตอบแทนที่สูงขึ้นเมื่อมีความรู้สึกว่าค่าตอบแทนน้อยเกินไป
3) ไปหาผู้อื่นเพื่อเปลี่ยนต้นทุนหรือผลลัพธ์ของเขาโดยใช้ความเป็นเพื่อนกัน กดดันคนอื่นให้ทำงานเร็วขึ้นหรือช้าลง
อย่างไรก็ตาม วิธีคิด (Cognitive) เพื่อลดความไม่เสมอภาค หมายถึง ตัวเราไม่ต้องทำอะไร แต่เราสามารถลดความไม่เสมอภาคผ่านทางจิตใจได้ มีหลายวิธี ดังนี้
1) บิดเบือนมุมมองที่มีต่อต้นทุนหรือผลลัพธ์ของตัวเอง เช่น ฉันไม่ได้ทำงานหนักขนาดนั้น หลังจากฉันใช้เวลาไปพอสมควรในการคุยกับเพื่อน และผลลัพธ์อาจจะบิดเบือนได้ในลักษณะเดียวกัน
2)  บิดเบือนข้อมูลของผู้อื่น เช่น ทำไมเธอต้องพยายามทำให้นายขนาดนั้น ฉันไม่เห็นต้องทำเลยเห็นได้ว่าการสร้างความยากในการเปรียบเทียบระหว่างการทำงาน การบิดเบือนในต้นทุน (เช่น เวลาและความพยายาม) เกิดขึ้นบ่อยกว่าการบิดเบือนผลลัพธ์ (เช่น เงินเดือนเพิ่มขึ้นหรือการเลื่อนตำแหน่ง) สุดท้าย ถ้าคนอื่นทำให้เรารู้สึกไม่เท่าเทียม เราอาจหาวิธีเปรียบเทียบกับคนอื่น ๆ ต่อไป คนอื่น อาจจะเป็นตัวเราเองในงานที่เคยทำมาก่อนหน้านี้, เพื่อนร่วมงานในองค์การเดียวกัน หรือคนที่อยู่คนละหน่วยงานกัน
ทฤษฎีความเสมอภาคสนับสนุนการคาดเดา ปัญหาไม่ได้เกิดเพราะความผิดพลาดของทฤษฎี แต่เพราะข้อสันนิษฐานกับการคาดเดาไม่เที่ยงตรง มีหลายวิธีในการลดความไม่เสมอภาคและทฤษฎีก็ไม่ได้ชี้ชัดว่าควรใช้วิธีไหน ทฤษฎีความเสมอภาคจะถูกนำมาใช้เมื่อเรารู้สึกถึงความไม่เสมอภาคหรือไม่พึงพอใจ เพื่อลดหรือปลดปล่อยความไม่พึงพอใจนั้น
ขั้นตอนในการบริหารกระบวนการความเสมอภาค (Steps for managing the equity process)  มีดังนี้
1.ยอมรับว่าการเปรียบเทียบความเสมอภาค (Equity comparisons) เป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ในที่ทำงาน
2.คาดว่าความรู้สึกถึงความไม่เสมอภาคเชิงลบ (Felt negative inequities) จะเกิดขึ้นเมื่อมีการให้รางวัล
3.สื่อสารถึงการประเมินที่ชัดเจนของการให้รางวัล
4.สื่อสารถึงการประเมินผลการทำงานซึ่งมีเกณฑ์การให้รางวัล
5.สื่อสารถึงความเหมาะสมของประเด็นที่เปรียบเทียบในสถานการณ์นั้น
การเปรียบเทียบความเสมอภาคกับการจัดสรรรางวัลมีผลกระทบต่อผู้ถูกจูงใจ  ผู้บริหารจะต้องหาวิธีการให้ผู้ถูกจูงใจเกิดการรับรู้ว่ารางวัลนั้นพิจารณาจากผลลัพธ์ที่แท้จริง  โดยผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพมีแนวความคิดการจัดการกับการเปรียบเทียบความเสมอภาค 3 ประการดังกล่าวข้างต้นและจากการวิจัยพบว่า
1. ถ้าบุคคลรู้สึกว่าเขาได้รับรางวัลที่ไม่เท่าเทียมกัน  เขาจะไม่พอใจ และจะลดปริมาณหรือคุณภาพของผลผลิต
2. ถ้าบุคคลได้รับรางวัลที่เท่าเทียมกัน  เขาจะทำงานเพื่อให้ได้ผลผลิตในระดับเดิมต่อไป
3. ถ้าบุคคลคิดว่ารางวัลสูงกว่าสิ่งที่ไม่เสมอภาค  เขาจะทำงานมากขึ้น  ดังนั้นจึงอาจจะลดรางวัลลง 
                ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ บุคคลจะคาดคะเนผลประโยชน์ของตนหรือคาดหวังรางวัลที่ได้รับเกินจริง  ทำให้พนักงานอาจรู้สึกถึงความไม่เสมอภาคในบางครั้ง  อย่างไรก็ตามความรู้สึกถึงความไม่เสมอภาคนี้จะมีผลต่อปฏิกิริยาบางประการ  ตัวอย่างเช่น พนักงานอาจจะโกรธหรือตัดสินใจทิ้งงาน  เพราะเกิดความรู้สึกว่ารางวัลที่ได้รับไม่ยุติธรรม  เมื่อเปรียบเทียบกับรางวัลของบุคคลอื่น
     เมื่อเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น พนักงานส่วนมากมักประเมินว่าตนเองทำงานหนักและทุ่มเทในการปฏิบัติงานมากกว่าคนอื่น ขณะเดียวกันก็มักคิดว่าคนอื่นได้รับผลตอบแทนสูงกว่าตน เขาจะพอใจในการทำงานและมีแรงจูงใจในการทำงานสูงตราบเท่าที่เขายังรับรู้ว่ามีความเสมอภาคเมื่อเปรียบเทียบกับพนักงานคนอื่น แต่ถ้าพนักงานพบว่าผู้ที่ทำงานในระนาบเดียวกับเขาได้รับผลตอบแทนสูงกว่าเขา หรือได้รับผลตอบแทนเท่ากันแต่ทำงานน้อยกว่า ความพอใจและแรงจูงใจในการทำงานจะน้อยลง เมื่อใดที่พนักงานเกิดการรับรู้ความไม่เสมอภาค เขาจะพยายามทำให้เกิดความเสมอภาคโดยการลดระดับตัวป้อนหรือไม่ก็เรียกร้องผลตอบแทนเพิ่มขึ้น
  การเปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่นที่ทำงานในระนาบเดียวกัน ทำให้เกิดการรับรู้ 3 แบบ คือ ผลตอบแทนเหมาะสม ผลตอบแทนต่ำไป ผลตอบแทนสูงไป
ผลตอบแทนเหมาะสม (Equitably Rewarded) พนักงานรับรู้ว่าตัวป้อนและผลตอบแทนมีความเหมาะสมกัน แรงจูงใจยังคงมีอยู่ เชื่อว่าคนอื่นที่ได้ผลตอบแทนสูงกว่าเป็นเพราะเขามีตัวป้อนที่สูงกว่า เช่น มีการศึกษาและประสบการณ์สูงกว่า เป็นต้น
ผลตอบแทนต่ำไป (Under-rewarded) เมื่อพนักงานคนใดรับรู้ว่าตนได้รับผลตอบแทนต่ำไป เขาจะพยายามลดความไม่เสมอภาคด้วยวิธีต่างๆ เช่น พยายามเพิ่มผลตอบแทน (เรียกร้องค่าจ้างเพิ่ม) ลดตัวป้อน (ทำงานน้อยลง มาสายหรือขาดงานบ่อยครั้ง พักครั้งละนานๆ ฯลฯ) อ้างเหตุผลให้ตัวเอง เปลี่ยนแปลงตัวป้อนหรือผลตอบแทนของคนอื่น (ให้ทำงานมากขึ้น หรือรับค่าจ้างน้อยลง) เปลี่ยนงาน (ขอย้ายไปฝ่ายอื่น ออกไปหางานใหม่) เปลี่ยนบุคคลที่เปรียบเทียบ (ยังมีคนที่ได้รับน้อยกว่า)
ผลตอบแทนสูงไป (Over-rewarded) การรับรู้ว่าได้รับผลตอบแทนสูงไปไม่มีปัญหาต่อพนักงานมากนัก แต่อย่างไรก็ตาม พบว่าพนักงานมักจะลดความไม่เสมอภาคด้วยวิธีเหล่านี้ คือ เพิ่มตัวป้อน (ทำงานหนักขึ้น และอุทิศเวลามากขึ้น) ลดผลตอบแทน (ยอมให้หักเงินเดือน) อ้างเหตุผลให้ตัวเอง (เพราะฉันเก่ง) พยายามเพิ่มผลตอบแทนให้ผู้อื่น (เขาควรได้รับเท่าฉัน)
     การใช้ทฤษฎีความเสมอภาคในการจูงใจ
     ผลการวิจัยเพื่อทดสอบทฤษฎีความคาดหวังมีแตกต่างกัน ทำให้การใช้ทฤษฎีนี้ในทางปฏิบัติมีความยุ่งยาก เพราะว่าเราไม่อาจทราบได้แน่ชัดว่ากลุ่มอ้างอิงที่บุคคลใช้เปรียบเทียบนั้นคือใคร และความรู้สึกหรือการรับรู้ในความเสมอภาคของเขาเป็นอย่างไร แต่ทฤษฎีนี้ก็ยังมีประโยชน์ถ้าหากนำไปใช้โดยมีข้อแนะนำทั่วไปดังนี้
           1.หัวหน้างานจะต้องตระหนักว่าความเสมอภาคเป็นเพียงการรับรู้ของพนักงาน ซึ่งอาจไม่ถูกต้องก็ได้ หัวหน้างานอาจทำให้พนักงานรู้สึกถึงความเสมอภาคหรือความไม่เสมอภาคได้ เช่น หัวหน้าบางคนมีพนักงานที่ตัวเองโปรดปรานเป็นคนใกล้ชิด ได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ในขณะที่ละเลยต่อคนอื่นๆ เป็นต้น
          2.การให้ผลตอบแทนหรือรางวัลต้องมีความเหมาะสม ถ้าหากพนักงานรับรู้ว่าเขาได้รับการปฏิบัติอย่างลำเอียง จะเกิดปัญหาในการปฏิบัติงานและขวัญกำลังใจขึ้น
          3.ผลการปฏิบัติงานที่ดีมีคุณภาพสูงต้องได้รับการตอบแทนหรือรางวัล แต่พนักงานต้องมีความเข้าใจว่าเขาควรใช้ความสามารถหรือตัวป้อนในระดับใดเพื่อบรรลุถึงผลที่ต้องการ

พิธีสวนสนามวันราชวัลลภ




พิธีสวนสนามวันราชวัลลภ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนาง เจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธานในพิธีสวนสนามวันราชวัลลภ ของทุกปี อันเป็นวาระเริ่มเฉลิมฉลองวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ในพิธีอันศักดิ์สิทธ์นี้ ทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ทุกหมู่เหล่าจะกระทำพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระพักตร์องค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถกับพระราชวงศ์ทุกพระองค์ในบรรยากาศงดงาม ด้วยสีสันท่ามกลางความชื่นชมยินดีของพสกนิกรไทยทั่วหน้า
"ข้าพเจ้าจักยอมตายเพื่ออิสรภาพและส่วนรวมแห่งชาติ
ข้าพเจ้าจักรักษาไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ของรัฐธรรมนูญแห่งพระราชอาณาจักรไทย
ข้าพเจ้าจักอยู่ในศีลธรรมของศาสนา
ข้าพเจ้าจักเชิดชูและรักษาไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพแห่งพระมหากษัตริย์
ข้าพเจ้าจักเชื่อถือผู้บังคับบัญชา และปฏิบัติตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด ทั้งจักปกครอง                               แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาโดยยุติธรรม
ข้าพเจ้าจักไม่แพร่งพรายความลับของทางราชการทหารเป็นอันขาด."
สัตย์ปฏิญาณนี้เปล่งออกมาอย่างหนักแน่นและมั่นใจพร้อมกันโดยทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ทุกหมู่เหล่าเป็นประจำทุกปี

           ราชวัลลภ เป็นนามที่พระราชทานเป็นพิเศษ มีความหมายว่าหน่วยทหารที่รักสนิทสนมและคุ้นเคยของพระราชาดำริเริ่มแรก มีขึ้นในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งทรงโปรดให้รวบรวมบุตรในราชตระกูล และบุตรข้าราชการที่ยัง เยาว์วัยให้เข้าไปถวายงานในพระราชฐานชั้นใน จำนวน 12 คน เรียกว่า มหาดเล็กไล่กา มีหน้าที่ไล่กาที่บินมารบกวนในเวลาทรงบาตร
 
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเพิ่มจำนวนมหาดเล็กที่รับใช้ถวายงานใกล้ชิดนี้เป็น 24 คน เป็นที่รู้จักว่าทหาร สองโหล และโปรดให้เข้าขบวนตามเสด็จพระราชดำเนินไปยังสถานที่ต่าง ๆ ด้วย
ในปี พ.ศ. 2414 ด้วยจำนวนทหารที่เพิ่มมากขึ้น โปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบใหม่ และจัดตั้งกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษา พระองค์ โดยพระองค์เองเป็นผู้บังคับกรม ขนานนามเป็นพิเศษว่า ราชวัลลภ พร้อมด้วยตราราชวัลลภที่พระราชทานเป็นตราประจำกรม

การถวายสัตย์ปฏิญาณต่อหน้าธงไชยเฉลิมพล เป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ที่มีเป็นประจำทุกปี สืบเนื่องมาตั้งแต่ครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2423 ครั้งนั้นทหารหน้ามี   จมื่นไวยวรนาถ เจิม แสงชูโต หรือเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี เป็นผู้บังคับการ และ จัดให้มีการสวนสนาม ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระพักตร์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว
ประเพณีการถวายสัตย์ปฏิญาณและสาบานตนพร้อมทั้งสวนสนามถวายความจงรักภักดีนี้ ยังคงดำเนินต่อมา พร้อมด้วยความหมาย ที่เพิ่มทวีขึ้น ในสมัยปัจจุบันทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์แต่งเครื่องแบบเต็มยศ อัญเชิญธงที่ได้รับพระราชทานประจำกรมกองของตนผ่าน พลับพลาที่ประทับ   ซึ่งแต่ละปีจะมีการซ้อมเพื่อให้แถวเป็นระเบียบสวยงามในพิถีที่ถือว่ามีความ สำคัญสุดยอดสำหรับทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน ยังได้ทรงประพันธ์เพลงมาร์ช       ราชวัลลภขึ้นโดยเฉพาะเพื่อหน่วย ทหารมหาดเล็ก หน่วยทหารราชวัลลภในเครื่องแต่งกายงามสง่าจะสวนสนามโดยเริ่มด้วยเพลิงนี้ทุก ครั้ง ผ่าหน้าพลับพลาที่ประทับ และพระแท่นทรงรับความเคารพไปจนครบ  ทุกหน่วย

การสวนสนามในวันที่ 3 ธันวาคมของทุกปีนั้น มิใช่เป็นเพียงพิธีที่รับสืบทอดมา หากมีความหมายสำคัญยิ่งขึ้นทุกขณะและทุกปี ด้วยเป็นสิ่งบ่งบอกสายใยแห่งความรักและภักดีจากใจพสกนิกรกับพระมหากษัตริย์ ที่ผูกพันแน่นแฟ้นเสมอมา ไม่ว่าเหตุการณ์จะผันแปร ไปเพียงใด อย่างไร เมื่อทหารในชุดราชวัลลภเต็มยศแหงนขึ้นมองพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบรมรูปทรงม้าขององค์ผู้พระราชทานกำเนิด สายตาที่เปี่ยมด้วยความภักดีนั้นพูดแทนดวงใจคนไทยทั้งมวลที่เทิดทูนองค์พระ มหากษัตริย์และราชบัลลังก์ไว้เหนืออื่นใด ขอจงทรงพระเจริญ




                                                         
                                                 นนร.วรรธนะ  ทาหนองบัว
                        ทหารราชวัลลภ กองทัพเรือ


ความภาคภูมิใจของครอบครัว


5  ธันวาคม  2553

                        

วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แนะนำตนเอง

นางพนิดา  ทาหนองบัว  นักศึกษาปริญญาโท  รุ่นที่
มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี  รหัสนักศึกษา 535313534  เลขที่ 39
e-mail:  panida529@gmail.com
Biogger:  panida529.blogspot.com
ที่อยู่  1  หมู่  13  ต.ร่อนทอง  อ.สตึก  จ.บุรีรัมย์  31150

ผลงานนักเรียน

การทำขนมฝักบัว ห้าสี


เครื่องปรุง
                     1.  แป้งข้าวจ้าว         1             ก.ก.
                     2.  แป้งสาลี                0.5         ก.ก.
                     3.  น้ำตาล                   1             ก.ก.
                     4.  เกลือ                       1             ช้อนชา
                     5.  น้ำมัน                    1             ก.ก.
                     6.  น้ำใบเตย/น้ำฝักทอง/น้ำดอกอัญชัน/
                    น้ำกระเจี๊ยบ/น้ำส้มเขียวหวาน 
                   หรืออื่น ๆ             4             ถ้วยตวง


                  วิธีการทำขนมฝักบัว
                         1.  ผสมแป้งข้าวจ้าว  เกลือ  และแป้งสาลีเข้าด้วยกัน
                      ใส่น้ำใบเตย/น้ำฝักทอง/น้ำดอกอัญชัน/
                       น้ำกระเจี๊ยบ/น้ำส้มเขียวหวาน ทีละน้อย นวด
                       จนแป้งเข้ากันดี
                         2.  นำน้ำตาลผสมกับแป้งที่นวดไว้  แล้วนวดต่อ
                        จนน้ำตาลละลาย  เติมน้ำใบเตย/น้ำฝักทอง/
                        น้ำดอกอัญชัน/น้ำกระเจี๊ยบ/น้ำส้มเขียวหวานลงไป


                        3.  ตั้งกระทะให้ร้อนใส่น้ำมันพอประมาณ  เมื่อน้ำมันร้อน
                      นำแป้งที่ผสมไว้มาทอดให้สุก  แล้วตักวางบนตระแกรง
                      พร้อมรับประทาน
                           
                   ข้อเสนอแนะ
                         1.  ถ้าแป้งข้นเกินไปจะทำให้ขนมแข็ง
                         2.  ถ้าแป้งเหลวเกินไปจะทำให้ขนมแบน  ไม่ขึ้นฟู
                         3.  หากใส่น้ำตาลมากเกินไปขนมจะดูดน้ำมัน

                         
                               ความภาคภูมิใจ
                                  -ชนะเลิศการทำขนมไทยระดับกลุ่ม สตึก 3
                       -เหรียญทอง การทำขนมไทยระดับเขตพื้นที่การศึกษา



แสดงผลงาน
วันเด็กแห่งชาติ ณ  อบต.ร่อนทอง อ.สตึก จ.บุรีรัมย์


ขอเชิญแวะชิม
จัดแสดงผลงาน
ณ ที่ว่าการอำเภอนาโพธิ์ จ.บุรีรัมย์
ในวันที่  18-19  พ.ย. 53





วันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2553

โรงเรียนบ้านปรือเกียน

วิสัยทัศน์ (VISION)
             ภายในปีการศึกษา  2556  โรงเรียนบ้านปรือเกียนเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ใช้
ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ผู้เรียนมีคุณธรรม  นำความรู้  ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 
มีคุณภาพผ่านเกณฑ์มาตรฐาน  โดยครูมืออาชีพ  ชุมชนมีส่วนร่วม




 พันธกิจ (MISSION)
     1.   ส่งเสริมการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นคุณธรรม
           นำความรู้  น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 
           ให้ผู้เรียนผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
     2.   ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูและบุคลากร  ได้รับการพัฒนา
           ด้วยวิธีการที่หลากหลายและต่อเนื่อง
 3.   ประสานความร่วมมือจากชุมชนเข้ามีส่วนร่วม
      ในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้  โดยเน้นภูมิปัญญาท้องถิ่น
      ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 
 4.   ประสานความร่วมมือกับองค์กรทุกภาคส่วนเพื่อเข้ามา

      มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา




 เป้าประสงค์ (GOALS)
1.  ผู้เรียนมีคุณธรรม  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น 
และมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน
2.  ครูมีความรู้  ความสามารถและคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ
3.  โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้  โดยเน้นภูมิปัญญาท้องถิ่น
4.  ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา


กลยุทธ์
1. ส่งเสริมผู้เรียนให้มีคุณธรรม  นำความรู้  น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียงสู่การปฏิบัติ
2. พัฒนาคุณภาพผู้เรียนระดับก่อนประถมศึกษาและระดับประถมศึกษา 
ให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นและมีคุณภาพ
ตามเกณฑ์มาตรฐาน                                                           
3. ส่งเสริมให้ครูมีความรู้  ความสามารถ และมีคุณภาพ
ตามมาตรฐานวิชาชีพ
4. พัฒนาโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้  โดยเน้นภูมิปัญญาท้องถิ่น
5. ส่งเสริมการบริหารจัดการศึกษา โดยชุมชนมีส่วนร่วม

             กิจกรรมโรงเรียน


นักเรียน โดยใช้สื่อ เทคโนโลยี ทุกชั้นเรียน
                                                           

  
          

                      ร่วมเปิดงานผ้าป่าสามัคคี  ณ  วัดบ้านปรือเกียน  ต.ร่อนทอง  อ.สตึก  จ.บุรีรัมย์


          
          กิจกรรมนาฎศิลป์
ชุดบุรีรัมย์รุ่งเรือง  งานวันเด็กแห่งชาติ ปีการศึกษา 2553
ณ  อบต.ร่อนทอง  อ.สตึก  จ.บุรีรัมย์


          
           แข่งขัน แอโรบิคประยุกต์ ได้ชนะเลิศ ระดับกลุ่มฯ


           
                                              แข่งขัน แอโรบิคประยุกต์ ได้เหรียญทอง  สพป.บร.4